เดอะ วัน ประกันภัย : พนักงานชุมนุมหน้าบริษัท ถูกลอยแพ ไม่จ่ายเงินเดือน

พนักงาน เดอะ วัน ประกันภัย ถูกลอยแพ หลังบริษัทไม่จ่ายเงินชดเชย-ล่าสุดได้รับเงินเดือนแค่ครึ่งเดียว รมว.แรงงานยื่นมือช่วย

วันที่ 15 ธันวาคม 2564 แหล่งข่าววงในธุรกิจประกันภัย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันนี้จากที่กลุ่มพนักงานบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) นัดชุมนุมบริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่ เนื่องจากได้รับเงินเดือนแค่ครึ่งเดียวของเงินเดือนงวดล่าสุด และยังไม่ได้รับเงินชดเชยแต่อย่างใด โดยปัจจุบันจำนวนพนักงานบริษัท เดอะวัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีอยู่กว่า 400 คนทั่วประเทศ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯประมาณ 200 คน

ซึ่งนับว่าเป็นการถูกลอยแพ ทั้งที่ช่วงก่อนหน้านี้พนักงานตั้งใจทำงาน แม้กระทั่งตอนที่ม็อบลูกค้ามาประท้วงขอเงินเคลมประกันภัยโควิด ต่างช่วยกันออกโรงว่าจะจ่ายแน่นอนตามคิว แต่พอเลิกกิจการ ผู้บริหารระดับสูงก็ไม่สนใจ แตกต่างจากกลุ่มพนักงานบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ที่ทางเจ้าของแม้ว่าจะเลิกจ้างไปแล้ว แต่ได้มีการจ่ายเงินซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ชดเชยให้พนักงานทุกคน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่ บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีภาระค่าสินไหมทดแทน COVID-19 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้บริษัทมีฐานะการเงินไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความสามารถเพิ่มทุน และไม่เพียงพอต่อการจ่ายสินไหมทดแทน บริษัทเตรียมเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมด 396 คน จาก 19 สาขาทั่วประเทศ

เรื่องดังกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลภารกิจกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความเป็นห่วงลูกจ้างบริษัทดังกล่าว จึงสั่งการให้กระทรวงแรงงานเข้าไปดูแล ช่วยเหลือลูกจ้างอย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับ และขั้นตอนกระบวนการยื่นคำร้องให้ลูกจ้างทราบ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564

ซึ่งลูกจ้างรับทราบและเข้าใจเป็นอย่างดี และแจ้งความประสงค์ขอยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 ในวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2564 ซึ่งได้นัดหมายให้นายจ้างมาพบเพื่อสอบถามและตรวจสอบถึงการดำเนินการของนายจ้างว่าเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ หากนายจ้างไม่สามารถจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างให้กับลูกจ้างได้ ลูกจ้างมีสิทธิยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้

 

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ 3 ได้เข้าชี้แจงสิทธิเงินทดแทนในกรณีว่างงาน ที่ลูกจ้างพึงได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยปีละไม่เกิน 180 วัน สำนักงานจัดหางานพื้นที่ 10 ได้นำรายละเอียดของตำแหน่งงานว่างในพื้นที่มาให้ลูกจ้างได้พิจารณาด้วย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะดูแล ช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป

ด้านนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า หากบริษัทปิดกิจการลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน 1.ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างในอัตราค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับค่าชดเชย 30 วัน ไปจนถึงทำงานครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วัน 2.ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีเลิกจ้างกะทันหัน โดยนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ได้รับเงินในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน

และ 3. เงินผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินเดือนค้างจ่าย ค่าล่วงเวลา และค่าพาหนะเดินทาง เป็นต้น ซึ่งลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร ทั้ง 10 พื้นที่ หรือสายด่วน 1506 กด 3